content-image
ARTICLES | 04 March 2021

การเตรียมความพร้อม COVID-19 ผ่านมุมมอง Cybersecurity

author-image

Incognito Lab

COVID-19 จัดเป็น Pandemic หรือโรคระบาดที่เกิดการระบาดทั่วโลก ทำให้หลายบริษัทต้องออกมาตรการขั้นเด็ดขาดเพื่อรับมือการแพร่ระบาดไวรัส เช่นการเน้นย้ำบุคลากรพร้อมกับชี้แจงให้กับพาร์ทเนอร์ เพื่อดูแลสุขภาพและป้องกันการแพร่ระบาดสู่ส่วนรวม ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเราก็พบกับมาตรการรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการก่อนการเข้าอาคารสถานที่ การเตรียมการของบริษัทเอกชนหรือภาครัฐ ซึ่งความแตกต่างของการเตรียมความพร้อมก็แตกต่างกันไปในแต่ละที่ บางแห่งมีความพร้อมสูงมากดูแลถึงขนาดมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต COVID-19 ให้กับพนง. หรือเตรียมความพร้อมและอนุญาตให้ work from home บางแห่งก็เฝ้าดูสถานการณ์รอคล้อยตามองค์กรต่าง ๆ หรือบางแห่งก็ไม่พบแม้แต่การประชุมภายในเพื่อการเตรียมความพร้อม!!!

ถ้าติดตามข่าวสารและ Social Media สะท้อนกระแสสังคมในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาจะพบว่ามีความเห็นแนวการปกปิดข่าวสารจากหน่วยงานรัฐ ถ้ามองดูในบริบทตามที่เคยปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีตจะพบว่า พวกรัฐบาลและหน่วยข่าวกรองให้ความสำคัญในการจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขและสุขภาพ (Health Information Manipulation) มานานแล้วเพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันการตื่นกลัวของประชาชน (Mass Panic) ลดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ หรือลดกระแสการต่อต้านจากสังคม โดยวิธีการเหล่านี้สามารถทำได้เพื่อควบคุมสถานการณ์ในประเทศของตัวเอง หรือใช้โจมตีสาดข้อมูลไปยังประเทศเป้าหมายในลักษณะ Disinformation หรือ Propaganda ก็ได้ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีข่าวลือเรื่องการปิดบังจำนวนผู้ป่วย เนื่องจากกระบวนการเหล่านี้หลาย ๆ ประเทศใช้กันอยู่แล้ว เช่นมีการ censor ข้อมูลเรื่อง COVID-19 บน YY และ WeChat ในจีน ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญประกอบกันคือต้องมีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคจากภาครัฐมารองรับอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

Covid

Covid

การ filter keywords บน YY และ WeChat; ภาพประกอบจาก CITIZEN LAB

เรื่อง COVID-19 นี้ไม่ควรมองเป็นเรื่องเล่น ๆ ที่อิตาลีปล่อยให้คนตายเพราะไม่มี resource ไปจัดการ ประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศปิดประเทศไป ฝั่ง US ก็ block เที่ยวบินจากยุโรป ส่วนใน UK ที่ปรึกษาของ Boris Johnson จะใช้ Herd Immunity ที่โคตรเสี่ยง ถึงเวลาที่พวกเราต้องเตรียมความพร้อมแล้วนะครับ โดยเฉพาะคนที่ทำงานสาย IT นอกเหนือจากการปฏิบัติตามแผน BCP ขององค์กรอย่างเคร่งครัด

Covid

Covid

COVID-19 ติดต่อกันได้ง่ายกว่า Flu เกือบ 2 เท่า

สิ่งที่เราต้องเตรียมความพร้อมในมิติด้าน IT และ Cybersecurity ก็น่าจะประกอบด้วย

  1. ให้ความใส่ใจและปกป้องพนักงานทุกคนในบริษัทเพราะความปลอดภัยในชีวิตของคนย่อมสำคัญกว่าสิ่งอื่นใด บทความ COVID-19: Briefing note ของ McKinsey จึงให้ความสำคัญการตอบสนองต่อสถานการณ์ COVID-19 โดยกำหนดให้เป็นลำดับแรก พร้อมกันนี้ยังให้ความสำคัญของการสื่อความโดยตรงและชัดเจนจากผู้บริหารถึงพนักงาน ด้วยความถี่ที่เหมาะสมด้วย การไม่สื่อความหรือตอบสนองช้า ย่อมก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่ดีในระยะยาว
  2. Infrastructure สำหรับการให้บริการ Work from home ไม่ว่าจะเป็นระบบ VPN, Authentication, Remote Access, VDO Conference, Desktop Sharing, Web Application , หรือพวก Collaboration tools อื่น ๆ อย่าลืมนับจำนวน licence ด้วยว่าสามารถรองรับการทำงานได้ และดู Load ของอุปกรณ์ให้เรียบร้อยด้วย
  3. หากมีคำสั่งที่ทำให้คนส่วนใหญ่หรือทุกคนต้องอยู่บ้าน ไม่สามารถเข้าไปที่ทำงานได้ องค์กรควรคำนึงถึงการเตรียมความพร้อมเรื่องเวรประจำวัน หรือคนที่จะเข้าไป Maintain หรือแก้ปัญหา Infrastrcuture ที่สำคัญ อย่าลืมว่า Vendor อาจจะไม่มาช่วยเรา หรือคนที่ดูแลอุปกรณ์นั้น ๆ ถ้าเกิดป่วยขึ้นมาจะจัดการอย่างไรต่อดี อย่าลืมคิดเผื่อด้วยว่างานอะไรที่ไม่สามารถทำแบบ Remote ได้
  4. ต่อเนื่องจากข้อ 2 เมื่อไม่ค่อยมีคนไปที่ทำงาน จงเตรียมความพร้อมเรื่อง Physical Security ด้วย เราอาจแยกแยะโจรกับคนที่ไม่ใช่โจรยากขึ้นเพราะใส่หน้ากากเหมือนกัน ทุกวันนี้เวลาดูข่าวเราก็พบว่าคนที่ไม่ใส่หน้ากากก็สามารถเป็นโจรได้
  5. หากต้อง Work from home นาน ๆ ให้เตรียมมาตรการดูแล endpoint ของผู้ใช้งานด้วยเช่นจะ update ระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ อย่างไร จะป้องกันการโจมตีจาก Internet ได้มั้ยเพราะไม่มีอุปกรณ์ Security ขององค์กรมาช่วย filter ให้แล้ว และช่วงเวลาดังกล่าวอาจเป็นช่วงเวลาที่พวก hacker น่าจะมีเวลาเยอะและหาโอกาสโจมตี Infrastructure องค์กรของเราก็เป็นได้ ลองสังเกตดูว่าจาก incident หลาย ๆ ครั้งในอดีต องค์กรของเรามักจะโดนเล่นงานช่วงหยุดยาวหรือไม่ ถ้า hacker เจอปัญหา COVID-19 ด้วย ก็อาจจะไม่มีประเด็นนี้
  6. สื่อความเรื่อง Security Awareness ให้กับทุกคนในองค์กร เนื่องจากการทำ Social Engineering ด้วยวิธีการ pretexting (สร้างสถานการณ์เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อเช่นหลอกให้ download โปรแกรม monitor สถานการณ์ COVID-19) ทีม Incident Response อาจจะตอบสนองได้ลำบากขึ้น เพราะทุกคนกระจายอยู่บ้านกันหมด และอย่าลืมเรื่องการ store, process, และ transmit ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยว่าควรจะต้องจัดการมันอย่างไรเวลาทำงานแบบ remote work
  7. สื่อความเรื่อง Threat โดยเฉพาะเรื่อง business email compromise ให้กับหน่วยงานหรือคนที่รับผิดชอบด้านการโอนเงินหรือ interface กับลูกค้าโดยต้องมั่นใจว่าปลายทางที่กำลังคุยอยู่ด้วยนั้นคือตัวจริงก่อนทำ financial transaction ที่สำคัญ และต้องเน้นย้ำให้พนง. ตระหนักถึงเรื่องนี้ให้มาก ๆ
  8. ให้ความสำคัญเรื่อง Communication และ Collaboration ว่าจะสื่อความอย่างไร ช่องทางไหน อะไรที่เป็นช่องทางที่เป็นทางการ อะไรที่ใช้เฉพาะกลุ่ม อย่าลืมว่าถ้าใช้ line เพียงช่องทางเดียว file สำคัญที่รับ-ส่งกันมันจะไม่สามารถ access ได้ตลอด
  9. การเตรียมความพร้อมของ Blue Team เนื่องจาก baseline การใช้งานของผู้ใช้งาน และเครื่องไม้เครื่องมือในการ monitor พวก endpoint ต่าง ๆ อาจจะไม่เป็นไปตามที่เราออกแบบไว้ เนื่องจากทุกคนอยู่บ้านกันหมด ซึ่งหากเป็น worst case องค์กรอาจจะไม่มีใคร monitor ก็ได้
  10. เก็บรายชื่อผู้รับผิดชอบทั้ง primary และ secondary contact, เตรียมข้อมูล call tree , ทบทวนเรื่อง crisis communication และ play book ต่าง ๆ ในมือให้พร้อม
  11. Be Prepared!

PS1. ใครมีหน้ากากอนามัย surgical mask เหลือใช้ ช่วยเอาไปบริจากคุณหมอ/พยาบาลบ้างนะครับ เพื่อนแอดที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลใกล้จะไม่มีจะใช้แล้ว ตอนนี้ต้องทำ compensate control กันเองแตกต่างกันไปแต่ละที่ เราสามารถดู status ความขาดแคลนได้ที่ http://www.thaicov.com/

PS2. COVID-19 อยู่ที่ระดับ 3 แล้วหรือยังให้ดูที่ Indicator ดังนี้

  1. ติดต่อระบาดในวงกว้าง หลาย ๆ พื้นที่
  2. ติดต่อกันเกิน 4 hops
  3. ติดต่ออย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาสั้น ๆ
    REF: นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย
    https://www.youtube.com/watch?v=6keE5WIGHQs

References:

  1. Weaponizing Digital Health Intelligence by
    https://www.belfercenter.org/publication/weaponizing-digital-health-intelligence
  2. Security of Health Information
    https://www.schneier.com/blog/archives/2020/03/security%5Fof%5Fhea.html
  3. Censored Contagion — How Information href="https://citizenlab.ca/2020/03/censored-contagion-how-information-on-the-coronavirus-is-managed-on-chinese-social-media/" rel="noopener nofollow">https://citizenlab.ca/2020/03/censored-contagion-how-information-on-the-coronavirus-is-managed-on-chinese-social-media/
  4. https://www.mckinsey.com/business-functions/risk/our-insights/covid-19-implications-for-business

Up Next

Blog preview image

ARTICLES

Mar

03

2021

Secure Code Warrior

วันก่อนเจอ Tweet ที่คุณ Troy Hunt เจ้าของ haveibeenpwned ได้ share มาเกี่ยวกับ paper อันนึงที่น่าสนใจมาก

READ MORE

Blog preview image

ARTICLES

Mar

03

2021

หลักแห่งการออกแบบระบบอย่างมั่นคงปลอดภัย (Secure Design Principles)

ธนาคารรายใหญ่มีกฎระเบียบข้อบังคับในการคัดเลือกผู้ให้บริการหลายข้อ ทั้งในแง่ขีดความสามารถและความมั่นคงทางการเงินของบริษัท แต่เมื่อมีการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์หรือบริการไปแล้ว

READ MORE

Blog preview image

ARTICLES

Mar

02

2021

ทำความรู้จักกับ Application Sandboxing บน Mobile Platform

เมื่อพูดถึงกลไกการรักษาความปลอดภัยของ Smartphone ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะ iOS, Android หรือ Windows Phone ล้วนมีกลไกการรักษาความปลอดภัยพื้นฐานมาอยู่แล้วซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถใช้งาน Smartphone ได้อย่างมั่นคงปลอดภัยในระดับหนึ่ง

READ MORE

logologo

INCOGNITO LAB CO., LTD.

38 Soi Petchakasem 30, Petchakasem Road, Pak Khlong Phasi Charoen, Phasi Charoen, Bangkok 10160

©2025 Incognito Lab Co., Ltd. All rights reserved

Terms & Conditions Privacy Policy