
บทเรียนจากแผ่นดินไหว สู่แผนรับมือด้วย ISO 22301

Nuttakorn Dhiraprayudti
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมียนมาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2025 ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน คอนโดที่พักอาศัย รวมถึงพื้นที่ธุรกิจหลายแห่งที่ต้องหยุดชะงักชั่วคราว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

ISO 22301
ธุรกิจของคุณมีแผนการรับมือวิกฤตการณ์หรือยัง?
เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอย่างแผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อธุรกิจ ทั้งในด้านการเงิน ชื่อเสียง และความเชื่อมั่นจากลูกค้า จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่องค์กรควรมีแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan - BCP)
การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ (Business Impact Analysis - BIA) เป็นขั้นตอนสำคัญแรกๆ ในการเตรียมแผน BCP เพื่อให้องค์กรรู้ว่าอะไรคือทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ และประเมินว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ทรัพยากรใดบ้างที่อาจถูกกระทบ การวิเคราะห์นี้ยังรวมถึงการระบุความสำคัญของแต่ละกระบวนการทางธุรกิจ ระยะเวลาที่ยอมรับได้ในการหยุดชะงัก (Recovery Time Objective - RTO) และข้อมูลที่องค์กรยอมรับได้หากเกิดการสูญเสีย (Recovery Point Objective - RPO)
สิ่งสำคัญที่องค์กรควรคำนึงในการจัดทำแผน BCP ได้แก่:
- การระบุภัยคุกคามและความเสี่ยงอย่างรอบด้าน
- การกำหนดบทบาทและหน้าที่ของทีมงานในการรับมือเหตุการณ์
- การจัดทำแผนการสื่อสารในภาวะฉุกเฉินให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
- การทบทวนและปรับปรุงแผนอย่างต่อเนื่อง
ISO 22301 – มาตรฐานสำคัญเพื่อการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ISO 22301 คือมาตรฐานสากลด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่ช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการสร้างแนวทางที่เป็นระบบในการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉิน ลดระยะเวลาการหยุดชะงักของธุรกิจ และเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและคู่ค้า
ตัวอย่างเช่น ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งนี้ ร้านอาหารบางแห่งสามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (Positive PR) ได้โดยประกาศให้ลูกค้าไม่ต้องกลับมาชำระเงินค่าอาหาร
การมีมาตรฐาน ISO 22301 ช่วยให้องค์กรของคุณสามารถ:
- เพิ่มความเร็วในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
- ลดผลกระทบทางการเงินและชื่อเสียงขององค์กร
- ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
- เสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย
หากองค์กรของคุณยังไม่พร้อมสำหรับการเริ่มต้นนำมาตรฐาน ISO 22301 มาใช้งานในทันที ยังมีวิธีอื่นที่ทำได้ง่ายและใช้งบประมาณน้อยกว่า เช่น:
- การฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินเบื้องต้น
- การสร้างแผนรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างง่าย เช่น การกำหนดจุดรวมพล การสื่อสารเบื้องต้นระหว่างเกิดเหตุ
- การเตรียมข้อมูลสำรองขององค์กร เช่น การสำรองข้อมูลผ่านระบบ Cloud หรือ External Drive
วันนี้ คุณพร้อมหรือยังที่จะให้ธุรกิจของคุณเดินหน้าต่อไปแม้ในวันที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด?
ให้เราช่วยองค์กรของคุณเริ่มต้นสร้างความพร้อมด้วยมาตรฐาน ISO 22301 หรือวิธีที่เหมาะสมกับความพร้อมของคุณ
Get the help you need
หากท่านสนใจและต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรา สามารถ นัดหมายเพื่อนัดพูดคุย ผ่านหน้าเว็บไซต์ได้ทันที ทีมงานของเรายินดีให้คำปรึกษาและตอบทุกข้อสงสัยของท่านอย่างเต็มที่
Up Next

ARTICLES
Mar
28
2025
Black Kite คืออะไร? ทำไมองค์กรต้องใช้แพลตฟอร์ม Cyber Risk Rating ในการบริหาร Third-Party Risk
ในยุคที่การโจมตีทางไซเบอร์ไม่ได้จำกัดเพียงแค่อุปกรณ์หรือระบบขององค์กร แต่ยังลุกลามไปสู่เครือข่ายคู่ค้า (Supply Chain) การบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ที่เกิดจาก Third Party จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม
READ MORE

NEWS
Mar
25
2025
Incognito Lab เข้าร่วม GSB IT EXPO 2025
บริษัท Incognito Lab ได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน GSB IT EXPO 2025
READ MORE

ARTICLES
Mar
24
2025
Break It Before It Breaks You: Performance Testing That Saves the Day
ในโลกธุรกิจดิจิทัลปัจจุบัน ความเร็วและความเสถียรของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไม่ใช่แค่เรื่อง "good to have" แต่เป็น "must" เพราะหากระบบไม่สามารถรองรับปริมาณการใช้งานจำนวนมากหรือตอบสนองต่อปริมาณผู้ใช้ที่พุ่งสูงได้ทันเวลา ผลลัพธ์ที่ตามมาคือระบบล่ม (downtime) สูญเสียรายได้ เสียโอกาส รวมถึงความเชื่อมั่นของลูกค้า
READ MORE